Tap Dance เป็นการเต้นแบบไหน

                แท๊ปแดนซ์ หรือ การเต้นแท๊ป เป็นการเต้นรำประเภทหนึ่ง ที่มีความโดดเด่น เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก โดยกำเนิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่19 ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในครั้งแรกที่เราได้ยินชื่ออาจจะเกิดความสงสัยว่าทำไมถึงเรียกการเต้นรำชนิดนี้ว่า “แท๊ป” มันเกิดจากเสียงขอแผ่นเหล็กที่อยู่ใต้รองเท้าสัมผัสกับพื้นเป็นรูปแบบการเคาะ ทำให้เกิดเป็นจังหวะขึ้นเป็นเหมือนกับเสียงของดนตรีในอีกทางหนึ่ง

การเต้นแท๊ปแดนซ์ เกิดจากการผสมผสานการเต้นรำหลาย ๆแห่งเข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นการเต้นของแอฟริกา อังกฤษ ไอร์แลนด์และสวีเดน ทำให้เกิดเป็นลักษณะการเต้นที่เป็นสไตร์ของชาวอเมริกัน โดยมีข้อมูลจากอีกกลุ่มหนึ่งที่เชื่อกันว่า ”แท๊ปแดนซ์” เกิดขึ้นในช่วงกลางปี ค.ศ.1800  ระหว่างการแสดงดนตรีของศิลปินผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่ง ต่อมาเมื่อเขาได้เสื่อมความนิยมลงก็ได้เปลี่ยนไปสู่การแสดงบนเวที การเต้นแท๊ปแดนซ์เป็นที่นิยมอย่างมากในโรงละครบรอดเวย์ แสดงในลักษณะของวอเดอวิลล์ โดยในตอนนั้นเขาเรียกการเต้นแท๊ปแดนซ์ว่าการเต้นแบบแจ๊สอยู่ เพราะเพลงที่ใช้ในการเต้นนั้นส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเพลงแจ๊ส

รองเท้าที่ใช้ในการเต้นแท๊ปนั้นจะมีแผ่นเหล็กสองแผ่นด้วยกันติดอยู่ที่ปลายเท้าและส้นเท้า มีไว้สำหรับสร้างจังหวะ โดยสามารถเต้นตามจังหวะที่ทำขึ้นเองโดยไม่ต้องมีเสียงดนตรีหรือตามเสียงเพลงก็ได้ โดยปกติแล้วแท๊ปจะมีด้วยกัน 8 จังหวะ จะพูดให้เห็นภาพก็คือเต้นนับจังหวะ 1-8 แล้วหยุด แล้วขึ้น 1-8 ใหม่ นอกจากนี้ยังสามารถปรับเปลี่ยนจังหวะให้เป็นแบบของตนเอง โดยในสมัยแรกๆ การเต้นแท๊ปจะใช้เพียงเสียงของรองเท้าที่แตะเท่านั้นโดยจะเป็นรองเท้าพื้นไม้

ในส่วนของท่าพื้นฐานสำหรับการเต้นแท๊ปนั้นจะมีด้วยกันอยู่ทั้งหมด 3 ท่าได้แก่

1.แฟลป เกิดจากการนำปลายเท้าสัมผัสกับพื้น ให้เกิดเสียงขึ้น 1 จังหวะ จากนั้นทำการหยุด

2.บรัช  คล้ายกับการกวาดพื้นโดยใช้เท้า โดยจะเป็นเสียงที่ปลายเท้า 1 จังหวะ

3.ชัฟเฟิล ใช้เสียงจังหวะที่บริเวณปลายเท้า 2 จังหวะโดยจะทำคล้ายๆกับบรัชแต่ไปและย้อนกลับ ก็คือสะบัดเท้า  ไปแล้วก็กลับมา

โดยเรามีตัวอย่างการผสมท่าเต้นแท๊ปขั้นพื้นฐาน โดยเราสามารถผสมได้หลายอย่างด้วยกันเช่น แฟลป 4 ครั้ง เป็น 8 จังหวะ หรือ ชัฟเฟิล 3 ครั้ง (6 จังหวะ) รวมกับเคาะที่ส้นเท้าอีก 2 จังหวะ เป็นต้น และที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดก็เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการเต้น “แท๊ปแดนซ์” ที่เราได้รวบข้อมูลมาให้ทุกคนได้อ่านกันและหวังว่าจะทำให้มีความเข้าใจกันมากขึ้นนะครับ