การเต้นรำพื้นเมืองในแต่ละภาคของประเทศไทยมีอะไรบ้าง

ศิลปะการเต้นรำถือว่าเป็นศิลปะที่ทุกพื้นที่ทั่วโลกต้องมีเป็นของตัวเอง มันเหมือนกับเป็นการบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ วัฒนธรรมการใช้ชีวิตของคนในพื้นที่นั้นๆ ได้เป็นอย่างดี ประเทศไทยเองก็เช่นเดียวกันจะเห็นได้ว่าแต่ละพื้นที่เองก็มีศิลปะในการเต้นรำที่แตกต่างกันออกไป ลองมาทำความรู้จักกับศิลปะการเต้นรำพื้นเมืองของแต่ละภาคในประเทศไทยว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง ภาคเหนือ – วัฒนธรรมการเต้นรำของภาคเหนือส่วนใหญ่จะเน้นไปถึงเรื่องของศิลปะทางด้านความสวยงาม เอกลักษณ์คือความอ่อนช้อยที่ชาวเหนือต้องการแสดงให้ทุกคนได้เห็น จุดเด่นของการเต้นรำทางภาคเหนือจะเน้นเรื่องความอ่อนช้อย งดงาม เป็นหลัก การเต้นรำที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี อาทิ ฟ้อนเงี้ยว, ฟ้อนไหม, ฟ้อนลาวแพน, ฟ้อนเล็บ, ฟ้อนม่านเชียงตา, ฟ้อนเทียน เป็นต้น ซึ่งเราก็มักจะเห็นถึงความสวยงามเกี่ยวกับศิลปะการเต้นรำของภาคเหนืออยู่บ่อยๆ นับว่าเป็นเอกลักษณ์ที่ค่อนข้างมีความเฉพาะตัวเป็นอย่างมาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน – ศิลปะการเต้นรำแบบพื้นเมืองของชาวอีสานส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องของความสวยงามบวกกับความสนุกสนาน เพราะโดยพื้นฐานของคนอีสานเป็นคนที่ชอบการเต้นรำอยู่ก่อนแล้ว เราจึงมักเห็นว่าการแสดงของชาวอีสานส่วนใหญ่จะเป็นดนตรีเร็วๆ แต่ก็มีที่เน้นเรื่องความสวยงามเหมือนกัน การเต้นรำพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของภาคอีสาน อาทิ เซิ้งกระติ๊บข้าว. หมอลำ, ฟ้อนภูไท, เซิ้งกระหยัง เป็นต้น เรียกได้ว่าแค่ดนตรีขึ้นมาก็พอจะนึกออกแล้วว่าเป็นการเต้นรำพื้นเมืองของภาคอะไร ภาคกลาง – ศิลปะการเต้นรำแบบภาคกลางส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องวิถีชีวิตของชาวบ้านเป็นหลัก รวมถึงจะเน้นในเรื่องของการใช้ภาษาพูดที่สละสลวยมาช่วยให้การเต้นรำพื้นเมืองของภาคนี้มีความโดดเด่นขึ้นมาไม่เหมือนใครอีกด้วย การแสดงที่น่าสนใจ อาทิ ลำตัด, เพลงฉ่อย, เต้นกำรำเคียว, เพลงอีแซว, รำกลองยาว, รำเทพทอง เป็นต้น ถือว่าเป็นศิลปะการแสดงที่ทำให้เราได้เห็นถึงการใช้ชีวิตของคนในภาคนี้อย่างแท้จริง ภาคใต้ Read more about การเต้นรำพื้นเมืองในแต่ละภาคของประเทศไทยมีอะไรบ้าง[…]