หัวข้อ การเต้นบูชาเทพเจ้า คืออะไร และมีที่มาจากไหน


มนุษย์เรากับความเชื่อเรื่องเทพเจ้าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแทบจะสังคมทุกมุมโลกเลย สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันในเรื่องความเชื่อเทพเจ้าก็คือ พวกเค้าจะต้องมีการบูชายัญ หรือ ถวายสิ่งของที่พวกเค้าคิดว่ามีค่าให้กับเทพเจ้านั้น ซึ่งอาจจะเป็นของกิน พืชพันธุ์ธัญญาหาร สัตว์เลี้ยง จนถึงชีวิตเลยก็ว่าได้ อีกหนึ่งประเพณีพิธีกรรมที่เห็นกันบ่อยก็คือ การเต้นบูชาเทพเจ้า สิ่งนี้คืออะไร มีที่มาจากไหน

ตำนานของประเทศอินเดีย

หากจะมองว่าเรื่องการเต้นบูชาเทพเจ้าของที่ไหนมีอิทธิพลต่อไทยมากที่สุดก็ต้องเป็นอินเดียอย่างแน่นอน เรื่องของพระศิวะถือว่าเป็นตัวแทนความเชื่อทางด้านการร่ายรำได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการร่ายรำ 108 ท่าของพระศิวะ ที่นำมาจากตำนานการปราบปรามเหล่าฤาษีนอกรีต ถือว่าเป็นต้นแบบของการร่ายรำในเวลาต่อมา ซึ่งพวกเค้าเชื่อกันว่าหากต้องการจะประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับพระศิวะ หรือ พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับศิลปะการร่ายรำ จะต้องเป็นการร่ายรำท่วงท่า 108 ท่าของพระศิวะก่อน จึงจะทำอย่างอื่นได้ รวมถึงการร่ายรำ 108 ท่า ยังเป็นการบูชาต่อเทพเจ้าพระศิวะโดยตรงอีกด้วย พวกเค้าเชื่อกันว่า หากบูชาเทพเจ้าพระศิวะด้วยการร่ายรำ 108 ท่าแล้ว จะทำให้โลกสงบสุข อยู่กันอย่างร่มเย็น อีกด้วย

เทศกาลบูชาเทพแห่งไฟ ประเทศญี่ปุ่น

ข้ามน้ำข้ามทะเลไปที่ประเทศญี่ปุ่นกันบ้าง ที่นั่นมีวัฒนธรรมประเพณีที่เก่าแก่มากมาย หนึ่งในนั้นก็คือการบูชาเทพเจ้าแห่งไฟตามความเชื่อ จังหวัดอาคิตะ มีพิธีดังกล่าวคล้ายกับเป็นงานเทศกาล และ ประเพณีโบราณผสมผสานกัน โดยจัดขึ้นในช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือนมกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยวิธีการรำเพื่อบูชานั้น จะเป็นการเอากระสอบฟางใส่ถ่านเอาไว้จากนั้นมัดเชือกให้แน่นเชือกยาวออกมาประมาณ 1 เมตร จากนั้นก็จะจุดไฟที่กระสอบ พอไฟติด ก็จับปลายเชือกอีกด้าน เหวี่ยงไปรอบตัว จนกว่าไฟจะเผ่ากระสอบฟางหมด ขณะเหวี่ยงนั้นจะเหมือนกับมีวงแหวนไฟล้อมรอบตัวผู้รำเพื่อบูชาเทพเจ้า เชื่อกันว่าการทำพิธีนี้จะได้รับความคุ้มครองจากเทพเจ้าแห่งไฟ

การรำบูชาเทพเจ้า ที่ประเทศทิเบต

ประเทศทิเบต ถือว่าเป็นอีกหนึ่งดินแดนที่มีความเชื่ออยู่มากมาย หนึ่งในนั้นเป็นเรื่องการเต้นรำบูชาเทพเจ้า พิธีกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นที่วัดซ่าเจีย เมืองรือคาเจ๋อ ในเขตปกครองตนเองทิเบตทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ตัวพิธีกรรมจะดำเนินการด้วยการใส่หน้าการร่ายรำตามเสียงดนตรีโดยหน้ากากจะมีการวาดภาพ ตกแต่งเป็นเทพเจ้าตามความเชื่อของแต่ละคน พิธีกรรมนี้จะทำขึ้นในช่วงวันส่งท้ายปีเก่า วันขึ้นปีใหม่ ทำขึ้นเพื่อกำจัดสิ่งชั่วร้ายออกไป และเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ดีต่อไป เชื่อกันว่าพิธีกรรมนี้ สืบทอดกันมานานกว่า 500 ปี

การรำบูชาเทพเจ้า

แม้ว่าจะเป็นคติความเชื่อแบบพราหมณ์ฮินดู แต่ไทยเราก็มีการปรับเข้ากับความเชื่อได้ดี อย่างเช่นการรำบูชาเทพเจ้าก็มีการทำอยู่ในปัจจุบันอย่างเช่น การรำเพื่อบูชาเทพเจ้าพระพิฆเนศ จะเป็นการรำเพื่อบวงสรวงอย่างสวยงาม อาจจะเป็นรำเดี่ยว หรือ กลุ่มสามคน ห้าคน หรือมากกว่านั้นก็ได้ ไม่เท่านั้นอีกหนึ่งสถานที่ก็จะเป็นวัดแขก ที่งานประจำปีจะมีการขอพื้นที่ในการรำเพื่อบูชาเทพเจ้าดังกล่าวด้วย

จะเห็นว่าแม้จะนานผ่านไปนานแค่ไหน การรำเพื่อบูชาต่อเทพเจ้าที่ตนนับถือ ก็ยังเป็นอีกหนึ่งพิธีกรรมเพื่อตอบสนองความเชื่อของตัวเองได้อย่างน่าสนใจทีเดียว ใครอยากเห็นการรำบูชาเทพเจ้าในยุคนี้ก็หาได้จากยูทูป