ประวัติของมโนราห์(รำ)

‘มโนห์รา’ คือ การละเล่นพื้นเมืองชนิดหนึ่ง ซึ่งสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีต้นกำเนิดมาจากภาคใต้ โดยเป็นการละเล่น ซึ่งมีทั้งการร้อง , รำ และเล่นเป็นเรื่อง เป็นการแสดงสอดแทรกคติความเชื่ออันเป็นพิธีกรรม ในรูปแบบหนึ่ง

มโนราห์จิตวิญญาณแห่งการร่ายรำของชาวใต้

‘มโนราห์’ คือ ศิลปะพื้นเมืองภาคใต้ โดยคำเรียก ‘มโนห์รา’ เป็นคำที่เกิด ขึ้นมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา จากการนำเอาเรื่อง ‘พระสุธน-มโนราห์’ มาแสดงเป็นละครชาตรี ส่วนประวัติความเป็นมาของกำเนิดของโนรานั้น นักโบราณคดีไทย ได้คาดการณ์กันว่า การร่ายรำประเภทนี้ ได้รับอิทธิพลมาศิลปะการแสดงประเทศอินเดียโบราณ เกิดขึ้นก่อนสมัยศรีวิชัย เสียอีก โดยมาจากพ่อค้าชาวอินเดียที่เดินทางมาค้าขายกับประเทศไทย โดยวิเคราะห์จากเครื่องดนตรี เรียกว่า ‘เบญจสังคีต’ อันประกอบด้วย โหม่ง , ฉิ่ง , ทับ , กลอง ,ปี่ และใน รวมทั้งท่าร่ายรำอันมีความละม้ายคล้ายคลึงกับ ท่าร่ายรำของ อินเดีย เชื่อกันว่ามโนราห์ เกิดขึ้นครั้งแรก ณ หัวเมืองพัทลุง ก่อนที่จะเริ่มคืบคลายแผ่ขยายไปยังหัวเมืองอื่นๆของภาคใต้ จวบไปจนถึงภาคกลาง และกลายเป็นละครชาตรีในที่สุด

เรื่องเล่ากว่าจะกลายมาเป็น ‘มโนราห์’     

‘มโนราห์’                ถือกำเนิดขึ้นในราชสำนักของพัทลุง โดยมีตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาว่า เจ้าเมืองพัทลุง ที่มีชื่อว่า พระยา สายฟ้าฟาด ท่านมีลูกสาวนามว่า ศรีมาลา เธอมีความสามารถในการร่ายรำที่สวยงาม อ่อนช้อย หากแต่แล้วก็เกิดเรื่องที่ไม่คาดฝันขึ้น จู่ๆ ศรีมาลา ก็ตั้งครรภ์โดยยังไม่ได้แต่งงานหรือข้องแวะกับชายใด betflix casino พระยาสายฟ้าฟาด โกรธมากจึงสั่งให้นำนางศรีมาลาไปลอยแพในทะเลสาปสงขลา จนกระทั่งแพได้ไปติดอยู่ที่เกาะใหญ่แห่งนี้ นางศรีมาลาก็ได้คลอดบุตรชาย ณ เกาะแห่งนี้ และตั้งชื่อว่า เทพสิงหล ผู้เป็นมารดาได้สอนให้ลูกของเธอหัดร่ายรำ ซึ่งเป็นความรู้ที่เธอถนัด และเทพสิงหล ก็แสดงท่าทางร่ายรำได้ออกสวยงามมาก จนรู้ไปถึงหูพระยาสายฟ้าฟาด หากแต่เจ้าพระยาสายฟ้า ก็ยังไม่ทราบว่าเทพสิงหลเป็นหลานตัวเอง จึงเชิญไปรำต่อหน้า ฝ่ายนางศรีมาลา ก็กล่าวกับคนที่มาติดต่อว่า โนราคณะนี้จะไปรำก็ได้ หากแต่ต้องปูผ้าขาวรองทางเดินตั้งแต่จากที่ลงจากเรือ จวบไปจนถึงลานแสดง ทางฝั่งผู้เป็นบิดาก็ตอบตกลง เมื่อจนพระยาสายฟ้าฟาดได้รับชม ก็ชื่นชมในความงดงามสมคำ จึงถอดเครื่องทรงที่ท่านทรงอยู่ ให้แก่เทพสิงหล เทพสิงหลจึงเฉลยความจริงว่า ตนเป็นหลานแท้ๆของท่าน พระยาสายฟ้าฟาดจึงตกตะลึงซ้ำสองไปอีก จึงรับโนราไว้ในราชสำนัก รวมทั้งให้สิทธิแต่งกายเหมือนกษัตริย์ทุกประการ